ปิรามิดแห่งการเรียนรู้ ด้วยประสาทรับความรู้สึก สู่การปลดล็อคพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ
- Kannapat Chotsittiwat., OTRL
- 20 ธ.ค. 2567
- ยาว 2 นาที
"The Sensory Pyramid of Learning – Foundation for Development"
Authorized by ครูรัน / OTRL
Perspective OT : มุมมองนักกิจกรรมบำบัด

ในฐานะนักกิจกรรมบำบัด ปิรามิดแห่งการเรียนรู้เป็นสื่อกลางที่ช่วยอธิบาย พัฒนาการ และการเรียนรู้ตามระบบประสาทรับความรู้สึก
ร่วมกับกับครู ผู้ปกครอง ให้ได้เห็นภาพ และเข้าใจหลักการที่จะช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการของลูกๆ ได้ง่ายขึ้น
ปิรามิดแห่งการเรียนรู้แสดงให้เห็นว่าการเล่น เพื่อการเรียนรู้ โดยใช้ระบบประสาทสัมผัสในช่วงวัยเด็ก มีความสำคัญอย่างยิ่ง ช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะรอบด้าน และเป็นพื้นฐานที่สำคัญของประสบการณ์ และพัฒนาทักษะที่สำคัญ มุ่งสู่การพัฒนาความคิดขั้นสูง (Executive Function Skill)
ทำไม? ระบบประสาทรับความรู้สึก จึงมีความสำคัญมาก สำหรับเด็กๆ!
การบูรณาการประสาทรับความรู้สึก (Sensory Integration) เป็นทักษะพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน สำคัญมากสำหรับการเจริญเติบโต และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ทั้งทางด้านการรับรู้สิ่งแวดล้อม และการรับรู้ในร่างกายของเด็ก ที่จะช่วยเติมเต็มพื้นฐานที่แข็งแรงให้กับระบบประสาทส่วนกลาง [สมองและไขสันหลัง] เพื่อที่จะก้าวไปสู่ขั้นของการพัฒนาทางด้านประพฤติกรรม การทำกิจวัตรประจำวัน และที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ทางวิชาการ สู่ทักษะทางความคิดขั้นสูง หรือที่เราคุ้นเคยกับคำว่า Executive Function ได้ต่อไปอีกขั้น

ระบบสัมผัส (การรับรู้จากการสัมผัส)
ระบบการทรงตัว (การเคลื่อนไหว การทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง)
ระบบรับรู้เอ็นข้อต่อ (การรับรู้ของกล้ามเนื้อและข้อต่อ)
ระบบรับกลิ่น (การรับรู้กลิ่น)
ระบบการมองเห็น (การรับรู้จากการมองเห็น)
ระบบการได้ยิน (การรับรู้จากการได้ยิน)
ระบบการรับรส (การรับรู้จากการรับรส)
ที่ฐานของปิรามิดแห่งการเรียนรู้ คือระบบประสาทการสัมผัส ระบบประสาทการทรงตัว และระบบประสาทการรับรู้เอ็นข้อต่อ เด็กๆ จำเป็นต้องเติมเต็มระบบประสาทรับความรู้สึกหลักทั้ง 3 ด้านนี้ สำหรับส่งข้อมูลของร่างกายย้อนกลับไปประมวลผลเพื่อการบูรณาการ และจัดระเบียบของสมอง
ทักษะถัดมาที่ต้องพัฒนา! สัมผัสประสบการณ์เล่น --> ส่งผ่านการเคลื่อนไหว...
เมื่อเด็กรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อม และร่างกาย สัญญาณการรับความรู้สึกส่งไปบูรณาการที่สมองอย่างเหมาะสม เด็กจะแสดงทักษะความสามารถในการจัดการ และบูรณาการชุดข้อมูลความรู้สึกด้านในต่างๆ แสดงออกมาผ่านพฤติกรรมการเล่นการเคลื่อนไหว โดยมีจุดสังเกตพัฒนาการดังนี้

Postural Security: พัฒนาความมั่นคงทางท่าทาง พวกเขาจะมีความมั่นใจในการรักษาท่าทางเพื่อรักษาสมดุลการเคลื่อนไหว ขณะเล่น เพื่อให้ตนเองไม่ล้ม เมื่อเด็กมีความมั่นคงในการควบคุมกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และควบคุมท่าทางได้ดี พวกเขาจะไม่ปฏิเสธการมีส่วนร่วม ไม่กลัวที่จะเปิดใจเล่น และเรียนรู้การเคลื่อนไหวในกิจกรรมใหม่ๆ
Awareness of Two Sides of Body: การรับรู้ร่างกายทั้งสองข้าง จะพัฒนาขึ้นมาจากการรับรู้การสัมผัส แรงกด และการเคลื่อนไหว ในวัยทารกเด็กจะเคลื่อนไหวแขนทั้งสองข้างเป็นกลุ่มก้อนไปพร้อมๆ เมื่อเปลี่ยนผ่านช่วงวัยทารก ไปสู่เด็กวัยเตาะแตะ จะเริ่มขยับแยกร่างกายทั้งสองข้างออกจากกัน และใช้แขนหรือมือ ในกิจกรรมการเล่นที่หลากหลาย รวมไปถึงการทำกิจวัตรประจำวัน การประสานงานของร่างกายทั้งสองข้าง (Bilateral Coordination) จะเริ่มพัฒนามากขึ้น และเด็กจะเริ่มแสดงถนัดใช้มือมากขึ้น (Laterality) และในที่สุดก็จะพัฒนาความถนัดของมือในช่วงชั้นอนุบาล
Motor Planning: การวางแผนการเคลื่อนไหว ความสามารถในการสร้างและวางแผน เพื่อการเคลื่อนไหวตามขั้นตอน และดำเนินการเคลื่อนไหวให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ในระหว่างการเคลื่อนที่ ร่างกายจะอาศัยชุดข้อมูลของการรู้ส่วนของร่างกาย และสิ่งแวดล้อม เพื่อกลับไปบูรณาการ เพื่อปรับปรุงการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนไหวจะเป็นไปอย่างธรรมชาติ และแสดงออกมาทางพฤติกรรมการเล่นโดยอัตโนมัติ เช่น เมื่อเด็กเรียนรู้การขี่จักรยานได้สำเร็จ พวกเขาสามารถก้าวขึ้นจักรยาน และทรงตัวปั่นจักรยานไปข้างหน้าได้เอง โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเริ่มต้นที่จะเริ่มทำกิจกรรม เช่น กังวลเรื่องการทรงตัว ไม่กล้าปั่นเอง กังวลกับปรับตัวกับสมดุลใหม่ขณะจักรยานปั่นไปข้างหน้า
Body Scheme: การรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งพัฒนาขึ้นได้ดีผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย และประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่น ช่วยให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย และตำแหน่งของแขน ขา ศีระษะ และลำตัวในการเล่นแต่ละกิจกรรม การรับรู้ส่วนของร่างกายจำเป็นต่อความมั่นคง และการระวังความปลอดภัยของร่างกาย เมื่อทำกิจกรรมในท่านั่ง ยืน รวมไปถึงการเดิน วิ่ง และเมื่อเรากำลังเคลื่อนไหวที่เริ่มซับซ้อนในการเล่นตามช่วงวัย
Reflex Maturity: ในเด็กทารกแรกเกิด มาพร้อมกับปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อการเอาตัวรอด การปกป้องตัวเอง และเพื่อพัฒนาการต่อเนื่อง เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ทางการรับความรู้สึกที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ ปฏิกิริยาตอบสนองเหล่านี้จะหายไปเอง และถูกแทนที่ด้วยความสามารถในการวางแผนเพื่อการเคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย หากปฏิกิริยาตอบสนองเหล่านี้ไม่พัฒนาเต็มที่และยังคงอยู่ ปฏิกิริยาตอบสนองเหล่านี้อาจขัดขวางพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ส่งผลให้การเคลื่อนไหวไม่ราบรื่น ในการทำกิจกรรมการเล่น และการทำกิจวัตรประจำวันได้
Ability to Screen Input: การพัฒนาระบบการรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง คือความสามารถในการคัดกรองข้อมูลที่จะเลือกรับอย่างเหมาะสม การบูรณาการการรับความรู้สึกของเด็กสมองต้องจัดการชุดข้อมูลจำนวนมาก จึงต้องการความสามารถในการจัดการข้อมูลที่เป็นระบบ นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่พวกเขาจึงต้องพัฒนาทักษะในด้านนี้ เพื่อเลือกรับ และคัดกรอง สิ่งที่จำเป็น/เลี่ยงสิ่งที่ไม่จำเป็น ต่อการบูรณาการความรู้สึก
การพัฒนาระบบรับความรู้สึกเพื่อการเคลื่อนไหว เป็นพื้นฐานที่สำคัญอีกขั้น ที่เป็นผลพวงจากเด็กที่มีการบูรณาการข้อมูลจากระบบประสาทรับความรู้สึกขั้นพื้นฐาน ซึ่งช่วยส่งเสริมทักษะผ่านการรับรู้ทางประสาทรับความรู้สึกในการเคลื่อนไหว และเพื่อปรับปรุงการเคลื่อนไหวในลำดับขั้นถัดไป เพื่อแสดงความสามารถออกมาผ่านการเล่นที่เหมาะสมตามช่วงวัย
ก่อนจะเข้ามุ่งสู่ ยอดสูงสุดของปิรามิดแห่งการเรียนรู้ ทักษะนี้ขาดไม่ได้เลย!!!
พัฒนาด้านการรับรู้การเคลื่อนไหว ในขั้นนี้อาศัยการบูรณาการประสาทรับความรู้สึก และการพัฒนาความรู้สึกต่อการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม ทักษะระดับที่สูงขึ้นนี้จะพัฒนาต่อไปโดยดึงความสามารถทักษะขั้นพื้นฐานทั้งสองขั้นก่อนหน้านี้ เพื่อปรับปรุงความสามารถ และความละเอียดในการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น

Eye-Hand Coordination: เด็กๆ จะพัฒนาทักษะการประสานงานระหว่างตากับมือ ผ่านการเล่นและกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ยิ่งพวกเขาเล่น และทำกิจกรรมซ้ำๆ ในแต่ละวันมากขึ้นเท่าไหร่ ทักษะการประสานงานกล้ามเนื้อก็จะดีขึ้นมากตามเท่านั้น ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมของเด็กๆ เพื่อเข้าสู่การเรียนรู้ในรั้วโรงเรียน
Ocular Motor Control: การควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา หรือการควบคุมกล้ามเนื้อตา เพื่อมอง และจดจ่อสายตาระหว่างการเล่น การทำกิจกรรมตามเป้าหมาย ลำดับขั้นนี้อาศัยการส่งเสริมทักษะจาก ความสามารถการบูรณาการประสาทความรู้สึกทางด้านการทรงตัวทรงท่าทาง ที่เหมาะสมของพัฒนาการตามช่วงวัย เด็กหลายคนที่ประสบปัญหาในการพัฒนาทักษะด้านนี้ พวกเขามีปัญหาในการจดจ่อสายตากับของเล่น และไม่สามารถจดจ่อสายตาเพื่อติดตามของเล่นในมือ หรือขยับตาจดจ่อมองไปมาระหว่างของเล่นได้ตามขั้นตอน หรือขณะทำกิจกรรมที่ง่าย ไปจนถึงยากได้ ตามช่วงวัย
Postural Adjustment: การปรับท่าทางขณะทำกิจกรรม นำไปสู่ความสามารถในการรักษาสมดุล และความมั่นคงของร่างกาย ตัวอย่างเช่น หากเราเสียสมดุล ร่างกายเด็กจะสั่งการ กล้ามเนื้อของเราจะทำงานโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ร่างกายดึงกลับมาในท่าตรงกลับสมดุลเดิม กล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวจะตอบสนองต่อการเสียสมดุล อย่างรวดเร็ว เพื่อดึงร่างกายกลับมาอยู่ในท่าตรง เพื่อป้องกันการล้ม เด็กคนไหนล้มง่ายบ้างเอ่ย?
Auditory Language Skills: จุดเริ่มต้นของการสื่อสารคือการทักษะในการฟัง เป็นความสามารถขั้นสูง ในระบบการได้ยินที่ส่งเสริมความเข้าใจภาษาเพื่อการสื่อสาร สมองจะบูรณาการเสียงได้ยิน ในการระบุประเภทเพื่อแยกแยะความสำคัญของเสียงนั้นๆ เพิกเฉยต่อเสียงที่รบกวน จดจำในเสียงที่คุ้นเคย และเรียงลำดับคลื่นความถี่ของเสียง และคำพูดในชีวิตประจำวันต่างๆ
Visual Spatial Perception: ทักษะการรับรู้ทางมิติสัมพันธ์ เป็นความสามารถระดับสูง ในระบบการมองเห็น อีกความสามารถของการมองเห็น ที่ไม่ใช่แค่การมองสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก แต่สมองต้องรับรู้ และเข้าใจสิ่งที่เห็น เพื่อที่จะระบุตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุ ตลอดถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับวัตถุด้วย เช่น ตุ๊กตาวางอยู่บนโต๊ะ ข้างๆตุ๊กตามีรถบัสจอดอยู่
Attention Center Functions: การทำงานของศูนย์ควบคุมความสนใจในสมอง จะช่วยให้เด็กมีสมาธิ และจดจ่อกับการเล่นการทำกิจกรรม กิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม เมื่อเด็กเติบโตด้วยประสบการณ์ และมีทักษะการเรียนรู้ พัฒนาการความสามารถในการจดจ่อกับงานได้นานขึ้น สมาธิและช่วงความสนใจก็จะเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณตามลำดับช่วงวัย
Cognition and Intellect – The Top of the Pyramid of Learning
ทักษะทางความคิด และสติปัญญา – จุดสูงสุดของปิรามิดแห่งการเรียนรู้

ปิรามิดแห่งการเรียนรู้แสดงให้เห็นว่ารากฐานที่มั่นคงของการบูรณาการประสาทความรู้สึก ช่วยส่งเสริมความสามารถของเด็กๆ สู่การทำกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การแสดงออกทางพฤติกรรมที่เหมาะสม และความพร้อมต่อที่จะต่อยอดทักษะการเรียนรู้ทางวิชาการในที่สุด
เมื่อเด็กๆ มีโอกาสสะสมประสบการณ์การบูรณาการประสาทรับความรู้สึกที่เพียงพอ พวกเขาก็จะเรียนรู้จากทักษะการรับความรู้สึก และการรับรู้ในการเคลื่อนไหว เพื่อให้พวกเขาสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทักษะความคิดขั้นสูงเชิงบริหาร และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในสถานการณ์ใหม่ จะพัฒนาไปได้ด้วยกิจกรรมการเล่น และการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามช่วงวัย
เด็กๆ จะได้ลงมือทำกิจวัตรประจำวัน จินตาการในการเล่น และเปิดโอกาสทางการเรียนรู้ทักษะทางวิชาการ ที่ประสบผลสำเร็จได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ ตั้งแต่ลุกจากเตียง จนกระทั่งกลับเข้านอน
การบูรณาการประสาทรับความรู้สึก และการปรับปรุงการรับความรู้สึกที่ถึงจุดอิ่มตัว ในทุกด้านอย่างเหมาะสมจะช่วยให้เด็กๆ นอนหลับ และหลับสนิทตลอดทั้งคืน
เมื่อร่างกายของเด็กๆ เรียนรู้และปรับปรุงการบูรณาประสาทรับความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม พวกเขาจะรู้สึกได้รับการเติมเต็ม และเมื่อร่างกายและสมองของพวกเขารู้สึกอิ่มเอม เด็กๆ ก็จะมีพฤติกรรมที่เหมาะสม และปรับตัวตามสถานการณ์ได้ดีขึ้น
และที่สำคัญกว่านั้น นอกจากการปรับพฤติกรรมตามสถานการณ์ได้เหมาะสม เด็กๆ ยังสามารถแสดงความสนใจ เอาใจใส่สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ดีขึ้นด้วย เพราะสมองที่ได้รับการเติมเต็มด้วยข้อมูลการรับความรู้สึกพื้นฐานอย่างเต็มที่ เป็นพื้นฐานที่ช่วยสร้างสมดุลของสมองจะช่วยให้เด็กๆ เอาใจใส่การรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และสิ่งใหม่ได้ดี!
Well-nourished sensory systems and balanced brains learn best.
หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการของลูก ก็อย่าลังเลที่จะหาข้อมูล หรือขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การดูแลและสนับสนุนลูกได้ตรงจุดมากที่สุดสามารถสอบถามข้อมูล หรือรับคำปรึกษา เพิ่มเติมจากนักกิจกรรมบำบัดได้
ติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ 065-2396996 และทาง คลิกเพิ่มเพื่อนLINE
Comments