top of page

Sensory Integration สำคัญต่อพัฒนาการอย่างไร?

  • รูปภาพนักเขียน: Kannapat Chotsittiwat., OTRL
    Kannapat Chotsittiwat., OTRL
  • 18 ธ.ค. 2567
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 20 ธ.ค. 2567

Authorized by ครูรัน / OTRL

Perspective OT : มุมมองนักกิจกรรมบำบัด

Sand is great for tactile sensory play and reduces tactile defensiveness
Sand is great for tactile sensory play and reduces tactile defensiveness

Sensory Integration

การบูรณาการประสาทรับความรู้สึก เป็นกระบวนการทำงานของสมอง เป็นศูนย์รวมกระบวนการลำดับแรกๆ ของพัฒนาการ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็ก

โดยกระบวนการนี้ช่วยให้เด็กสามารถรวมข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่างจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การดมกลิ่น และการรับรส

และที่ขาดไม่ได้ คือการรับรู้ของร่างกายตนเอง พ่อแม่ๆ คิอว่ามีระบบใดบ้างที่เด็กจะสามารถรับรู้ร่างกายของตนเองได้?


ใช่แล้วครับ! ระบบที่เด็กจะสามารถรับรู้ร่างกายของตนเองได้ หลักๆเลย คือ ระบบการรับรู้เอ็นและข้อต่อ และการทรงท่า ร่วมกับการสัมผัสทั้งผิวกายภายนอก และระบบอวัยวะภายใน เพื่อที่จะประมวลผลร่วมกับกระบวนการรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อม และเลือกตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม


 

"ทำไมการบูรณาการประสาทรับความรู้สึกจึงมีความสำคัญ?"


  1. พัฒนาการทางการเคลื่อนไหว

    การบูรณาการประสาทรับความรู้สึก ทำให้เด็กสามารถควบคุมการวางแผนการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น ในกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นตามช่วงวัย เช่น การวิ่ง กระโดด การเล่นปีนป่าย หรือ แม้กระทั่งการปั่นจักรยาน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ต้องการข้อมูลจากประสาทสัมผัสหลายด้านเพื่อบูรณาการ และตอบสนองร่วมกัน ส่งผลให้การเล่น การทำกิจกรรมมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อตัวเอง และผู้อื่น


  2. พัฒนาการทางสังคม

    เด็กที่มีการบูรณาการประสาทรับความรู้สึกที่ดี มักจะสามารถเข้าใจและตอบสนองต่ออารมณ์ของผู้อื่นได้ดีกว่า กว่าเด็กจะเรียนรู้ และตอบสนองได้ขั้นนี้ เด็กจะต้องมีการเติมเต็มพื้นฐานการรับความรู้สึกทุกด้านอย่างมั่นคง และแข็งแรง (ปิรามิดแห่งการเรียนรู้นั่นเอง! เดี๋ยวครูรันมาไขข้อสงสัยในโพสต์หน้า) ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ภาพที่ดีทั้งกับเพื่อน ครู และญาติผู้ใหญ่ การมีทักษะทางสังคมที่แข็งแกร่งจะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจต่อตนเอง และสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพในอนาคต


  3. พัฒนาการทางการเรียนรู้

    เมื่อเด็กสามารถประมวลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัสได้ดี พวกเขาจะสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น จริงไหม? อันที่จริงแล้วความสามารถทางด้านการเรียนรู้ทางวิชาการ ต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาการขั้นที่สูงขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นด้านการรับรู้ร่างกายเพื่อตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว และอีกขั้นการก่อนเรียนรู้ คือการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมและเลือกตอบสนองได้เหมาะสม ทางด้านวิชาการเเละการเรียนรู้เช่น การเรียนรู้ตัวอักษร หรือเลข ผ่านการสัมผัส การมองเห็น หรือการฟัง ซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายตามที่ตนเองชื่นชอบ


  4. พัฒนาการทางอารมณ์


    ที่สำคัญที่สุดในมุมมอง (Perspective Kid's) ของนักกิจกรรมบำบัดเรา ต่อการมองเด็กคือ พฤติกรรมการแสดงออกผ่านการเล่นของเด็กทุกช่วงวัย ที่เป็นผลลัพท์ขั้นสูงสุดที่แสดงออกทางพฤติกรรา ทั้งที่ผ่านการบูรณาการประสาทรับความรู้สึกมาอย่างเต็มที่ และบางคนที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ คือพัฒนาการทางอารมณ์ ที่เป็นยอดสูงสุดของการเรียนรู้ การบูรณาการประสาทรับความรู้สึกช่วยให้เด็กควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น และสามารถจัดการกับความเครียดหรือความกังวลได้อย่างมีสติ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในชีวิตประจำวัน และอยากจะกระซิบบอกคุณพ่อแม่ ทุกท่านว่า เป็นจุดเริ่มต้นของทักษะความคิดขั้นสูง (Executive Fuctions)


 

Sensory Integration Processing ไม่เพียงแต่ช่วยให้เด็กมีความสามารถในการจัดการกับข้อมูลที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อม แต่ยังส่งเสริมให้เด็กมีความเข้าใจและตอบสนองที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน การพัฒนาความสามารถนี้จะส่งผลดีต่อการช่วยเหลือตนเองทำกิจวัตรประจำเองได้ การเรียนรู้ทางวิชาการ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการพัฒนาการควบคุมทักษะทางอารมณ์

เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาในด้านนี้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้พวกเขามีความมั่นใจในตนเอง (Self Confedence-Esteem) และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ (Adaptive Behavior) ที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กมีความสุข ที่ได้เล่น และรู้สึกพึงพอใจในกิจกรรมที่ทำ ส่งเสริมให้พวกเขาเติบโต ไปพร้อมกับความสามารถในการจัดการกับความท้าทายต่างๆ ได้อย่างมั่นคง

ในทางคลินิกการบูรณาการประสาทรับความรู้สึก รวมไปถึงกิจกรรมที่กระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสหลายด้าน เช่น การเล่นเกมที่ต้องใช้การสัมผัสและการเคลื่อนไหว การทำกิจกรรมศิลปะที่ต้องใช้การมองเห็นและการสัมผัส หรือการฟังเพลงและเคลื่อนไหวตามจังหวะ ในการฝึกทั้งแบบเดี่ยว และการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างการบูรณาการประสาทรับความรู้สึกได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ โดยกิจกรรมเหล่านี้ต้องผ่านการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความต้องการในแต่ละด้าน เป็นการประเมิน และวางแผน จากนักกิจกรรมบำบัดวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญ เป็นเฉพาะรายบุคคลเท่านั้น จึงจะตอบสนองความต้องการที่แตกต่างเฉพาะบุคคลได้ตรงเป้าหมาย


 

สรุปการบูรณการประสาทรับความรู้สึก จึงเป็นพื้นฐานสำคัญ ที่ส่งผลต่อพัฒนาการที่หลากหลายของเด็กในด้านต่าง ๆ ทั้งการเคลื่อนไหว สังคม การเรียนรู้ และอารมณ์ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้านนี้จะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดีในอนาคต

การทำความเข้าใจพัฒนาการในแต่ละด้าน และให้การสนับสนุนที่เหมาะสม จะช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ มีความสุข และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ร่วมกับการมีจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาการของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน


 

หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการของลูก ก็อย่าลังเลที่จะหาข้อมูล หรือขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การดูแลและสนับสนุนลูกได้ตรงจุดมากที่สุดสามารถสอบถามข้อมูล หรือรับคำปรึกษา เพิ่มเติมจากนักกิจกรรมบำบัด
ติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ 065-2396996 และทาง คลิกเพิ่มเพื่อนLINE 

 
 
 

Comments


bottom of page